B E N E L L I    H E R I T A G E

1925’S

MOTOLEGGERA125

1926’S

147 SPORT

1932’s

175 MONZA

1936’s

500 SPORT

1940’s

500 Vlc

1952’s

LEONCINO 125

1963’S

NUOVO LEONCINO 125

1967’s

250 SPRITE

1972’s

TORNADO 650

1975’s

750 SEI

1981’s

900 SEI

2001’s

TORNADO 900

2011’s

CENTURY RACER

10’S

คุณแม่ของตระกูล Benelli ซึ่งมองการณ์ไกลและมีความเชื่อมั่น อย่างเต็มเปี่ยมในตัวลูกทั้ง 6 คนของเธอ อันประกอบด้วย Giuseppe, Giovanne,Fillippo,Francesco,Domenico และ Antonio ได้เริ่มต้น ทำธุรกิจ ร่วมกันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ในปี คศ.1911 การสร้างรถมอเตอร์ไซค์เป็นความฝันของพี่น้องตระกูล Benelli ซึ่งในอีก 8 ปีต่อมา คศ.1919 พวกเขาสร้างเครื่องยนต์เครื่องแรกได้ตามฝัน มันเป็นเครื่องยนต์ขนาด 75 ซีซี เป็นเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ ซึ่งได้นำไป ติดตั้งไว้ที่ตะเกียบคู่หน้าของรถจักรยานแต่การทำงานของมันกลับล้มเหลว

20’S

ธันวาคม ปี คศ.1921 พี่น้อง Benelli ได้นำรถจักรยานยนต์ของจริง คันแรกของพวกเขา ชื่อว่า Velomootre เครื่องยนต์มีขนาด 98 ซีซี. 2 จังหวะ น้ำหนักเบา โดยผลิตออกมา 2 รุ่น ในปี คศ.1923 คือ รุ่นท่องเที่ยว (Touring) ขนาด 125 ซีซี. และรุ่นนักแข่ง (Sport) ขนาด 147 ซีซี.แต่แล้วรถมอเตอร์ไซค์รุ่นที่ทำเครื่องยนต์แบบเพิ่มรอบซึ่งทำให้ Tonino Benelli ได้สะสมชัยชนะและโด่งดังไปทั่วยุโรป จนทำให้บริษัทผู้ผลิต Pesaro เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในปี คศ.1923 Giuseppe Benelli ได้ออกแบบมอเตอร์ไซค์ รุ่นใหม่ ซึ่งเครื่องยนต์มีขนาด 175 ซีซี. 4 จังหวะ มีระบบขับวาล์วที่ใช้เพลา ลูกเบี้ยว 2 ท่อน ติดตั้งอยู่ด้านบนของฝาสูบที่ทำหน้าที่ ปิดและเปิดลิ้น (Overhead camshaft) โดยมีเฟือง 4 ตัวเรียงกัน ใช้ในการสั่งงานเป็นแบบดั้งเดิม แต่มีสมรรถนะแบบเฉพาะตัวที่ดีกว่ามอเตอร์ไซค์

30’S

การผลิตที่เพิ่มขึ้นและการประสบผลสำเร็จในการประกอบธุรกิจ รถมอเตอร์ไซค์ ขนาด 175 ซีซี. นี้ได้ถูกพัฒนาต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี คศ.1934 เมื่อ Benelli ได้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์รุ่น 500 ซีซี.ออกมา ต่อมาเป็นรุ่น 250 ซีซี. ซึ่งทั้งคู่เป็นเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ ทำให้เกิดความจำเป็นที่ต้อง ขยายโรงงานให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และในปี คศ.1932 พี่น้อง Benelli ได้ทำสัญญา ซื้อที่ดินซึ่งเคยเป็นโรงเลื่อยของตระกูล Molaroni บนถนน Viale Principe Amedeo ซึ่งปัจจุบัน คือ ถนน Mameli ในปี คศ.1934 ได้มีการเปิดตัวรถมอเตอร์ไซต์ 2 รุ่นที่ใช้สำหรับการแข่งขัน คือรุ่น 250 ซีซี. ลูกเบี้ยวคู่ (Twin cam) และรุ่น 500 ซีซี.

40’S

โรงงาน Pesaro เคยเจริญถึงขีดสูงสุด มีพนักงานมากถึง 800 คน ทำงานอยู่ในโรงงาน แต่ผลจากสงครามทำให้มีผู้คนล้มตาย สิ่งปลูกสร้างและ โรงงานต่าง ๆ ถูกทำลายเสียหาย การทิ้งระเบิดของกลุ่มพันธมิตร และการบุกยึดของทหารเยอรมัน ทำให้ปริมาณของโรงงานขนาดใหญ่ ลดลงอย่างมาก เหลือเพียงเศษซากการทับถมของกองเศษอิฐ เศษหิน ของซากโรงงานที่ว่างเปล่า

50’S

การผลิตของ Benelli ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และในปี คศ.1951 เขาได้ออกแบบรถมอเตอร์ไซค์ รุ่น Leoncino ซึ่งรุ่นนี้ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างมาก มียอดขายอย่างถล่มทลาย ทั้งยังได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน รายการแรกของ Motogiro d’Italia โดยนักแข่งจากแคว้นโบโลญ่า นามว่า Leopoldo Tartarini

60’S

ในปี คศ.1961 ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ Pesaro ได้ฉลองครบรอบ 5 ปี แต่ปีต่อมา เขากลับต้องเผชิญกับธุรกิจขาลงของการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ ทำให้ต้องมีการ ควบรวมกิจการของ Benelli และ Motobi เรื่องราวดำเนินต่อมาอีกหลายปี การแข่งขันมีมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ครั้งแรกจาก Grassetti ต่อมาก็ Provini และ Pasolini ในรุ่น 250 ซีซี. เครื่องยนต์ 4 สูบ (Four-cylinders) จนกระทั่งได้รับชัยชนะเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี คศ.1969 จากการขับของนักแข่งชาวออสเตรเลียนามว่า Kelvin Carruthers

70’S

ในปี คศ.1972 นักลงทุนชาวอาเจนติน่า ชื่อ Alejandro De Tomaso ได้เข้ามาซื้อกิจการของ Benelli เจ้าของใหม่คนนี้ได้ปลุกธุรกิจให้กลับฟื้นขึ้นมา อีกครั้ง โดยออกรถมอเตอร์ไซค์รุ่นต่าง ๆ มากมาย มีการนำเสนอ รถมอเตอร์ไซค์รุ่นที่มีหลายลูกสูบมากขึ้น (Multi-cylinder) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีรุ่นพิเศษที่มีขนาด 750 ซีซี 6 สูบ (Six-cylinder) ซึ่งเป็นการเปิดตลาดของรถมอเตอร์ไซค์ 6 สูบ ถือเป็นการ สร้างสายการผลิตแบบใหม่และมีความทันสมัยมากขึ้น

80’S

การแข่งขันจากผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะรถมอเตอร์ไซค์ ของเขามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้ามากกว่า ทำให้ยอดขายของบริษัทลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในปี คศ.1988  บริษัท Benelli เริ่มทรุดลง มีผู้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ คือผู้ผลิต Pesaro ชื่อ Giancarlo Selci ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่มทุน Biesse (Biesse Group) เขาได้เข้ามา ครอบครองกิจการของตระกูล Benelli ในวันที่ 23 ตุลาคม ปี คศ.1989 กับการเริ่มต้นใหม่ที่ดี บริษัทโดยผู้บริหารคนใหม่ มีนโยบายที่มุ่งเน้นตลาด กลุ่มผู้บริโภค (Moped Market) โดยออกรถมอเตอร์ไซค์ รุ่นต่างๆ เช่น Cosi Devil และ Scooty

90’S

ในปี คศ.1995 กลุ่มทุน Merloni (Merloni Group) ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่ Fabriano มีความต้องการ ที่จะกอบกู้ทรัพย์สินและชื่อเสียงที่มีอยู่เดิมมาอย่างยาวนานในอดีตให้กลับคืนมาอีกครั้ง ในขณะนั้น Adrea Merloni ซึ่งเป็นลูกชายของ Vittorio ได้ถูกเชื้อเชิญให้ขึ้นมารับตำแหน่งเป็นผู้บริหารคนใหม่ของบริษัท จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่มี ความสำคัญอย่างมากของรถมอเตอร์ไซค์ รุ่น Scooter 491 โครงการรถมอเตอร์ไซค์รุ่น Scooter และอีกหลายๆ รุ่น ได้ถูกจัดร่างเป็นแผนงาน และหนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้น คือรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ (Maxi-sized) กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด รวมถึงรุ่น Tornado ซึ่งมีขนาดเครื่องยนต์ 900 ซีซี. 3 สูบ ที่เคยนำเข้าร่วมในการแข่งขัน Superbike Championship มาแล้ว นอกจากนั้น ยังมีรุ่น TnT ซึ่งมีเครื่องยนต์ขนาด 1130 ซีซี 3 สูบ

PRESENT

ในเดือน ธันวาคม ปี คศ.2005 บริษัท Benelli ตกเป็นของกลุ่มทุน Quianjiang บริษัทในประเทศจีนซึ่งมี สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Wenling ประเทศจีน ซึ่งมีคนทำงานอยู่ถึง 14000  คน สามารถผลิตรถมอเตอร์ไซค์ได้มากกว่า 1 ล้าน 2 แสนคัน ต่อปี และผลิตเครื่องยนต์ได้มากกว่า 2 ล้านเครื่องต่อปี
ในปี 2012 Benelli ได้เข้าสู่เมืองไทย ปลุกกระแสบิ๊กไบค์ในตลาด เมืองไทย โดยการนำเข้าจากบริษัท เบเนลลี่ คีเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวแบรนด์ Benelli อย่างเป็นทางการ ในงาน Motor Expo 2012 จากวันนั้นจนถึงวันนี้ต้องขอขอบคุณชาวเหล่าไบค์เกอร์ Benelli ทุกท่านที่ให้การต้อนรับ และให้ความไว้วางใจเข้ามาเป็นครอบครัว Benelli จนถึงปัจจุบันนี้